ความปลอดภัยเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ไม่ใช่แค่ในแวดวงอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวงการอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่าประเทศไทยก็ไม่เคยมองข้ามเรื่องเหล่านี้ ดังนั้นในวันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับ 5 หน่วยงานความปลอดภัย ในระดับสากลที่น่าสนใจ หากอ่านบทความนี้จบบอกเลยว่าคุณจะเข้าใจแวดวงความปลอดภัยในระดับสากลมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO)
WHO ก่อตั้งขึ้นในปี 1948 เป็นหน่วยงานเฉพาะทางของสหประชาชาติที่อุทิศตนเพื่อการสาธารณสุขระหว่างประเทศ ด้วยรัฐสมาชิก 194 ประเทศและสำนักงานทั่วโลกมากกว่า 150 ประเทศ หน่วยงานความปลอดภัย นี้จึงอยู่ในระดับแนวหน้าของแวดวงความปลอดภัยทั่วโลก และเป็นองค์กรแรกที่ทุกคนจะนึกถึงเมื่อพูดถึงสุขภาพและอาชีวอนามัย
เป้าหมายขององค์กร:
เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าและดีต่อสุขภาพมากขึ้นสำหรับผู้คนทั่วโลก เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงและเข้าใจความรู้หรือหนทางที่จะมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
บทบาทสำคัญ:
- การเฝ้าระวังโรค: ติดตามสถานการณ์ด้านสุขภาพและประเมินแนวโน้มด้านสุขภาพทั่วโลก และให้ข้อมูลที่สำคัญในระหว่างการระบาดของโรคต่าง ๆ รวมไปถึงความรู้ด้านสุขภาพด้วย
- การกำหนดมาตรฐานด้านสุขภาพ: ตั้งแต่คุณภาพอากาศและน้ำไปจนถึงความปลอดภัยของยา WHO มีบทบาทสำคัญในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานเหล่านี้
- ความช่วยเหลือทางเทคนิค: สนับสนุนประเทศต่างๆ ในการเสริมสร้างระบบสุขภาพและขีดความสามารถด้านสาธารณสุข
สำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (Occupational Safety and Health Administration : OSHA)
OSHA ก่อตั้งขึ้นในปี 1970 ในสหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งใน หน่วยงานความปลอดภัย ที่สำคัญที่สุด สังกัดอยู่ภายใต้กระทรวงแรงงาน ช่วยให้มั่นใจในสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพสำหรับคนงานโดยการกำหนดและบังคับใช้มาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายขององค์กร:
สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยการกำหนดและบังคับใช้มาตรฐานต่าง ๆ และจัดให้มีการจัดการฝึกอบรม การลงพื้นที่ตรวจสอบ ให้การศึกษา และให้ความช่วยเหลือพนักงาน
บทบาทสำคัญ:
- การพัฒนากฎระเบียบ: สร้างมาตรฐานและกฎระเบียบเพื่อปกป้องพนักงานจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
- การตรวจสอบและการบังคับใช้: ดำเนินการตรวจสอบสถานที่ทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องกับกฎระเบียบด้านความปลอดภัยและสุขภาพที่กำหนดไว้
- การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการฝึกอบรม: จัดให้มีการอบรมและประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO)
ILO ก่อตั้งขึ้นในปี 1919 เป็นหน่วยงานของสหประชาชาติที่มุ่งเน้นมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ รวมถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
เป้าหมายขององค์กร:
ส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมและสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
บทบาทสำคัญ:
- การกำหนดมาตรฐานแรงงาน: สร้างแบบแผนและข้อเสนอแนะที่กำหนดสิทธิและมาตรฐานแรงงานรวมถึงความปลอดภัย
- การวิจัย: ให้ข้อมูลด้านสถิติ ฐานข้อมูล และการศึกษาสภาพแรงงานทั่วโลก
- ความช่วยเหลือด้านเทคนิค: ให้การสนับสนุนและความเชี่ยวชาญแก่ประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมการทำงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาระงาน ค่าแรง ความปลอดภัย
สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA)
IAEA ก่อตั้งขึ้นในปี 1957 เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ส่งเสริมการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติและป้องกันการใช้ทางทหาร
เป้าหมายขององค์กร:
เร่งและขยายการมีส่วนร่วมของพลังงานปรมาณูเพื่อสันติภาพ สุขภาพ และความเจริญรุ่งเรืองทั่วโลก รวมไปถึงมองหาวิธีการใช้งานพลังปรมาณูให้เกิดประโยชน์สูงสุด
บทบาทสำคัญ:
- มาตรฐานความปลอดภัย: สร้างกรอบมาตรฐานที่แข็งแกร่งสำหรับความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัย และการป้องกันทางนิวเคลียร์
- ความร่วมมือทางเทคนิค: ช่วยให้ประเทศสมาชิกใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อจุดประสงค์ด้านสันติภาพต่างๆ เพื่อความปลอดภัย
- การตรวจสอบ: ช่วยให้ประเทศต่างๆ ปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ
หน่วยงานความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงานแห่งยุโรป (European Agency for Safety and Health at Work : EU-OSHA)
EU-OSHA ก่อตั้งขึ้นในปี 1996 โดยมีส่วนช่วยให้ยุโรปเป็นสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น ให้บริการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยในการทำงาน
เป้าหมายขององค์กร:
เพื่อให้สถานที่ทำงานของยุโรปปลอดภัย สุขภาพดีขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
บทบาทสำคัญ:
- การวิจัย: ดำเนินการสำรวจและการศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกิดขึ้นใหม่
- การรณรงค์: จัดแคมเปญสร้างความตระหนักรู้ทั่วยุโรปในหัวข้อความปลอดภัยในสถานที่ทำงานต่างๆ
- คำแนะนำและเครื่องมือ: มอบเครื่องมือและคำแนะนำที่ใช้งานได้จริงสำหรับธุรกิจ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
การทำความเข้าใจหน่วยงานความปลอดภัย และองค์กรเหล่านี้ช่วยให้บุคคลและธุรกิจมีความรู้ในการรับมือกับความซับซ้อนของมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก